นักศึกษารับรางวัลชนะเลิศ นิทรรศการภาพถ่าย "การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย" “Multiculturalism in Keng Tung city market”

Categories: medicine-ข่าวประชาสัมพันธ์งานกิจการนักศึกษา medicine-ข่าวประชาสัมพันธ์ รางวัล/ผลงานเด่น

ขอแสดงความยินดีกับ นศพ.วรรณษา หลิน นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3

ได้รับรางวัลชนะเลิศ นิทรรศการภาพถ่าย

"การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย"

“Multiculturalism in Keng Tung city market”

ค่ายจริยธรรมสัญจร ครั้งที่ 19

ถ่ายภาพและเรียบเรียงโดย : นศพ.วรรณษา หลิน

สำนักวิชาเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง

ประเทศเมียนมาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยชาวเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์เป็นจำนวนมาก โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ถึง 135 กลุ่ม แต่จะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลัก 8 กลุ่ม ด้วยเหตุนี้ ประเทศเมียนมา จึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากที่สุดในโลก และทำให้ถูกกล่าวขานว่าเป็น ‘ดินแดนแห่งชาติพันธุ์’ ภายใต้ความหลากหลายนี้ทำให้ประเทศนี้มีความแตกต่างทั้งทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และภาษา

ตอนเช้าตรู่ในช่วงขึ้นปีใหม่ ที่เมืองเชียงตุง รัฐฉาน เราจะมีโอกาสได้เห็นชาวบ้านหลากหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวไทใหญ่ จีน ว้า กะชีน ปะหล่องและอื่น ๆ อีกมากมาย มาจ่ายตลาดกันที่ตลาด ကျိုင်းတုံမြို့မေစျး (Keng Tung city market) ซึงเป็นตลาดที่ใหญ่ทีสุดใจกลางเมืองเชียงตุง ทำให้ตลาดนี้กลายเป็นตลาดเช้าที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศที่กระฉัยกระเฉง เต็มไปด้วยผู้คนที่มีความแตกต่างกันตั้งแต่การแต่งกาย ภาษาและ สำเนียงการพูด เดินขวักไขว่ไปมาเพื่อจ่ายตลาดในช่วงขึนปีใหม่ ในภาพนี้กลุ่มแม่บ้านที่กำลังนั่งพักเพื่อคลายความอ่อนล้า หลังจากเดินในตลาดที่คับคั่งไปด้วยผู้คน สังเกตจากลักษณะการแต่งกายที่มีผ้าโพกหัวสีขาว ทำให้เราทราบได้ว่า นี่คือกลุ่มชนกลุ่มน้อยว้า ความมีเอกลักษณ์ของตลาดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายของชาติพันธุ์ แม้จะมีวิถีชีวิตหรือมุมมองที่แตกต่างกันออกไปก็สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมนี้ได้และจะก่อเกิดเป็นวัฒนนธรรมที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ให้กับคนในชาติสืบต่อไป

หลักแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมนี้สอดคล้องกับแนวคิดวิสัยทัศน์ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่จะมุ่งเน้นพัฒนาเป็นสถาบันการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ยั่งยืนโดยเริ่มต้นจากการยอมรับความหลากหลายและการอยู่ร่วมกันในสังคมถือเป็นรากฐานสำคญที่จะพัฒนาวิชาชีพแพทย์ต่อไปในอนาคต

  • 1831